วิธีการเก็บค่า Sensor บน ThingSpeak
ThingSpeak เป็นบริการเก็บข้อมูลโดยอิงกับเวลา เก็บไปเรื่อยๆเพื่อสร้างกราฟ สามารถนำไปวิเคราห์ด้วยโปรแกรม MathLAB ได้ ถ้าเก็บข้อมูลไม่มากนักใช้ได้ฟรี ก่อนใช้งานควรอ่านข้อจำกัดของบริการฟรีให้เรียบร้อย หลักๆคืออย่าส่งข้อมูลถี่จนเกินไป แนะนำให้ส่งทุกๆ 15นาทีหรือห่างกว่านั้น ในตัวอย่างจะส่งทุกๆหนึ่งนาที (6000 มิลลิวินาที)ไปที่ https://thingspeak.com/ ทำการ Sign Up ให้เรียบร้อยแล้ว สร้าง Channel แล้วเปิดใช้งาน field1 กับ field2 เพื่อเก็บค่า Hall และ Temperature นำค่า API Key มาใส่ในโค้ดด้านล่าง ค่า "SSID" และ "password" ให้แก้เป็น Wifi ที่เราเชื่อมต่อ API ย่อมาจาก Application Programming Interface สำหรับคนไม่รู้จักดูความหมายได้ที่นี้
ตัวอย่างนี้จะใช้เซนเซอร์ภายใน ESP32 อ่านค่าอุณหภูมิจากและสนามแม่เหล็ก(Hall) ค่าอุณหภูมิจะเป็นอุณหภูมิของ ESP32 ซึ่งจะสูงกว่าอุณหภูมิห้อง ตัวอย่างดัดแปลงมาจากเวปนี้ (แนะนำให้เข้าไปอ่านดู) สามารถเข้าไปดูวิธีการเซ็ตอัป ThingSpeak สำหรับตัวอย่างนี้ได้
สามารถทดสอบแบบง่ายๆโดยการใส่ลิงค์นี้ลงบนเว็บ เบราว์เซอร์
https://api.thingspeak.com/update.json?api_key=API_KEY&field1=1234&field2=35
แล้วไปดูกราฟ ใน Private View
ตรง #ifdef __cplusplus , extern "C" { , และ #endif สำหรับคนที่ไม่เชี่ยวชาญภาษา C++ อาจจะงงหน่อย นำไปใช้ก่อนแล้วกันมันจำเป็นสำหรับการเรียกใช้ฟังก์ชั่น temprature_sens_read() ซึ่งเป็นฟังก์ชั่นของระบบ
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50 51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 | #ifdef __cplusplus extern "C" { #endif uint8_t temprature_sens_read(); #ifdef __cplusplus } #endif uint8_t temprature_sens_read(); #include <WiFi.h> String apiKey = "API_KEY"; //ใส่ API Key ที่ได้รับจาก ThingSpeak const char *ssid = "SSID"; // Wifi ที่เชื่อมต่อ และรหัสผ่าน const char *pass = "password"; const char* server = "api.thingspeak.com"; WiFiClient client; void setup() { Serial.begin(9600); delay(10); Serial.println("Connecting to "); Serial.println(ssid); WiFi.begin(ssid, pass); while (WiFi.status() != WL_CONNECTED) { delay(500); Serial.print("."); } Serial.println(""); Serial.println("WiFi connected"); } void loop() { //ใช้ GET method ฟอร์แม็ตเป็นดังข้างล่าง //https://api.thingspeak.com/update.json?api_key=API_KEY_HERE&field1=1234&field2=35 int h = hallRead(); float t = ((temprature_sens_read()-32)/1.8); //changing temperature parameter to celsius if (client.connect(server,80)) { Serial.println("ThingSpeak connected"); String url = "/update.json?api_key="+apiKey +"&field1="; url += String(h); url += "&field2="; url += String(t); Serial.print("Requesting URL: "); Serial.println(url); client.print(String("GET ") + url + " HTTP/1.1\r\n" + "Host: " + server + "\r\n" + "Connection: close\r\n\r\n"); unsigned long timeout = millis(); while (client.available() == 0) { if (millis() - timeout > 20000) { Serial.println(">>> Client Timeout !"); client.stop(); return; } } while(client.available()) { //ข้อความที่ตอบกลับจาก server String line = client.readStringUntil('\r'); Serial.print(line); } }else{ Serial.println("Connection fail"); } Serial.println(""); client.stop(); Serial.println("Waiting..."); delay(60000); //รอหนึ่งนาที(60000 มิลลิวินาที) } |
ตัวอย่างด้านล่างนี้เป็นแบบ Method POST จะการส่งค่าเหมือนการส่งผ่านฟอร์มบนเวป
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50 51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71 72 73 74 75 76 77 78 79 80 | #ifdef __cplusplus extern "C" { #endif uint8_t temprature_sens_read(); #ifdef __cplusplus } #endif uint8_t temprature_sens_read(); #include <WiFi.h> String apiKey = "API_KEY"; // ใส่ API Key ที่ได้รับจาก ThingSpeakconst char *ssid = "ssid"; // ชื่อไวไฟที่ต่อ const char *pass = "password"; // รหัสผ่าน const char* server = "api.thingspeak.com"; WiFiClient client; void setup() { Serial.begin(9600); delay(30); Serial.println("Connecting to "); Serial.println(ssid); WiFi.begin(ssid, pass); while (WiFi.status() != WL_CONNECTED) { delay(500); Serial.print("."); } Serial.println(""); Serial.println("WiFi connected"); } void loop() { int h = hallRead(); float t = ((temprature_sens_read()-32)/1.8); //ทำอุณหภูมิเป็นเซลเซียส if(client.connect(server,80)) //เชื่อมต่อไปยัง api.thingspeak.com { String postStr = apiKey; postStr +="&field1="; postStr += String(h); postStr += "&field2="; postStr += String(t); postStr += "\r\n\r\n"; client.print("POST /update HTTP/1.1\n"); client.print("Host: api.thingspeak.com\n"); client.print("Connection: close\n"); client.print("X-THINGSPEAKAPIKEY: "+apiKey+"\n"); client.print("Content-Type: application/x-www-form-urlencoded\n"); client.print("Content-Length: "); client.print(postStr.length()); client.print("\n\n"); client.print(postStr); unsigned long timeout = millis(); while (client.available() == 0) { if (millis() - timeout > 20000) { Serial.println(">>> Client Timeout !"); client.stop(); return; } } while(client.available()) { //ข้อความที่ตอบกลับจาก server String line = client.readStringUntil('\r'); Serial.print(line); } Serial.print(""); Serial.print("Hall: "); Serial.println(h); Serial.print("Temperature:"); Serial.print(t); Serial.println(" C"); Serial.println("%. Send to Thingspeak."); }else{ Serial.println(h); } client.stop(); Serial.println("Waiting..."); delay(60000); //รอหนึ่งนาที(60000 มิลลิวินาที) } |
การใช้งานหน้าเวปจะมีลักษณะใช้งานRequest และ Respond
Request เพื่อขอหน้าเวป ด้วย Method GET หรือ POST จะมีการส่งข้อมูลพร้อมไปด้วย
Respond จะส่งหน้าเวปกลับมา หลังประมวลผลข้อมูลที่ส่งไป
ในภายหลังนิยมใช้เวปเซิร์ฟเวอร์เพื่อประมวลผลแทนการสร้างเซิร์ฟเวอร์เฉพาะทางแบบเดิมเลยมีคอนเซ็บของ Web API ขึ้นมา การติดต่อผ่านเวป(โปรโตคอล HTTP) จะต้องมีการส่งค่าบางอย่างไปด้วยจะทำให้ดูมีอะไรซับซ้อนหน่อย หลังจากทำการ Request ก็จะได้ค่าตอบกับมา เช่นสำเร็จ หาหน้าเวปไม่เจอ ฯลฯ ในตัวอย่างจะใช้ client.readStringUntil('\r'); เพื่ออ่านค่าที่ตอบกลับมาทีละบรรทัด ซึ่งจะพิมพ์ออก Serial Monitor ไม่ได้ใช้ทำอะไร เราควรรอให้เวปทำการ Respond เสียก่อนจะเลือกติดต่อเพราะไม่งั้นการ Request อาจจะล้มเหลวได้
ถ้าใช้ Library Manager ติดตั้งไลบารีของ ThingSpeak จะมีโค้ดตัวอย่างจะดูง่ายกว่าใช้ WiFiClient ดังที่ใช้ในตัวอย่างหน่อยหนึ่ง แต่เท่าที่ลองใช้มันมีปัญหากับไลบารี่บางตัว เลยแนะนำให้ใช้ดังตัวอย่างข้างต้น
เพิ่มเติม
NETPIE FEED vs ThingSpeak Channel
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น